admin

ป้ายไม้สักหน้าร้าน

ป้ายไม้สักหน้าร้าน ทนน้ำ ทนแดด

วัสดุ ไม้สัก + โพลี

ขนาด สูง 90 cm กว้าง 50 cm

ไดคัทสติ๊กเกอร์ให้ฟรี

สั่งสินค้าแล้วแจ้งแบบได้เลยครับ

สนใจสั่งหน้าเพจ หรือ

https://shopee.co.th/ป้ายไม้สักหน้าร้าน-ทนน้ำ-ทนแดด-ไม้สัก-โพลี-i.832868952.18543347065?sp_atk=d097587b-6040-45cb-81ad-37a062bb56e9&xptdk=d097587b-6040-45cb-81ad-37a062bb56e9

เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์วัดพระเจ้าดำ

พาเที่ยวชมโบราณสถานยุคสุโขทัย

ในดินแดนล้านนา

ที่บ้านสบแจ่งฝั่งขวา ต.บ้านแปะ

อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

องค์ความรู้เรื่อง ” เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์วัดพระเจ้าดำร่องรอยสุโขทัยในล้านนา “

โดย สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่

พื้นที่ๆเรียกว่า “สบแจ่ม” เป็นบริเวณจุดบรรจบของลำน้ำแม่แจ่มกับแม่น้ำปิง ในเขตอำเภอจอมทอง ทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่แห่งนี้เป็นเพียงไม่กี่แห่งในเขตวัฒนธรรมล้านนาที่หลงเหลือโบราณสถานในลักษณะ “กลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่” ในปี พ.ศ.๒๕๕๘ – ๒๕๖๒ สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ ได้ดำเนินการขุดค้น-ขุดแต่งทางโบราณคดี และพบข้อมูลสำคัญที่เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของล้านนาและแอ่งที่ราบเชียงใหม่ กล่าวคือ พื้นที่นี้ เป็นพื้นที่ที่ปรากฏอิทธิพลศิลปกรรมแบบสุโขทัยที่เด่นชัดและเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในเขตวัฒนธรรมล้านนา โดยที่จะขอนำมากล่าวถึงในวันนี้ คือ วัดพระเจ้าดำ

…..ถ้าเปรียบ “สบแจ่ม” เป็นมงกุฎศิราภรณ์ล้ำค่าแห่งล้านนาชิ้นใหม่ “วัดพระเจ้าดำ” ก็คงไม่ต่างกับเพชรยอดมงกุฎ ที่ประกาศคุณค่าและความงาม

ข้อมูลจากการศึกษาทางโบราณคดีที่ผ่านมา พบว่าในเขตวัฒนธรรมล้านนาปรากฏเจดีย์รูปแบบที่มีอิทธิพลวัฒนธรรมสุโขทัยไม่มากนัก โดยมากมักปรากฏในลักษณะอิทธิพลทางศิลปกรรมเฉพาะส่วน ที่ประกอบและผสมผสานเข้ากับสถาปัตยกรรมล้านนา อาทิ การทำช้างล้อมรอบฐานเจดีย์ หรือการทำส่วนลาดบัวคว่ำซ้อนลดหลั่นกันรองรับองค์ระฆัง อย่างที่ศัพท์ทางประวัติศาสตร์ศิลปะเรียกว่า “บัวถลา”

……แต่โบราณสถานวัดพระเจ้าดำแห่งนี้ ต่างออกไป

จากรูปแบบสถาปัตยกรรมที่ปรากฏ วัดพระเจ้าดำ มิได้นำองค์ประกอบความเป็นสุโขทัยมาเพียงเฉพาะส่วน แต่ได้นำความเป็นสุโขทัยแบบต้นฉบับมาประดิษฐานยังที่แห่งนี้

เอกลักษณ์ความเป็นสุโขทัยเพียงหนึ่งเดียวที่ไม่มีที่ใดเหมือนนั่นคือ “เจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์”

เจดีย์แบบพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือ เจดีย์ทรงดอกบัวตูมแห่งวัดพระเจ้าดำ ตั้งอยู่บริเวณริมตลิ่งแม่น้ำปิงฝั่งตะวันตก เจดีย์ตั้งอยู่ด้านหลังวิหารที่หันหน้าเข้าสู่แม่น้ำปิง เจดีย์องค์นี้นับได้ว่าเป็นเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ที่งดงามที่สุดและมีสัดส่วนใกล้เคียงกับเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์แบบต้นฉบับในเมืองสุโขทัยที่สุด เดิมทีในพื้นที่ล้านนาปรากฏเจดีย์แบบพุ่มข้าวบิณฑ์ ๒ แห่ง คือ ๑.เจดีย์วัดธาตุกลาง (นอกกำแพงเมืองเชียงใหม่ด้านใต้) ๒.เจดีย์รายประจำมุมของวัดสวนดอก (นอกเมืองเชียงใหม่ด้านตะวันตก) ซึ่งภายหลังถูกก่อครอบสมัยครูบาเจ้าศรีวิชัย ราวก่อนปี ๒๔๗๘ เจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ที่กล่าวมาทั้ง ๒ องค์ หากพิจารณาจากลักษณะและสัดส่วน เห็นจะมีเพียงเจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ของวัดสวนดอก ที่ดูได้สัดส่วนงดงาม แต่ก็ประดิษฐานอยู่ในฐานะเจดีย์ประจำมุม มิใช่เจดีย์ประฐาน

ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงอายุสมัยและเนื้อหาประวัติศาสตร์พบว่า เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์น่าจะมีมาแล้วตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนรัชสมัยพระเจ้าลิไท ของสุโขทัย เนื่องจากปรากฏข้อความในจารึกเขาสุมนกูฎ ที่ระบุว่าพระยาลิไทเสด็จไปปิดทองพระมหาธาตุเมืองพิษณุโลก ในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ “…ไปอยู่เมืองสองแควบุพระมหาธาตุ…” ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์นี้ มีมาก่อนต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ และได้กลายเป็นรูปแบบหลักของเจดีย์ประธานช่วงสมัยพระเจ้าลิไท ในพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ทั้งนี้ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐ มีเหตุการณ์สำคัญที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์และการแพร่เข้ามาของอิทธิพลสุโขทัยในล้านนา คือ การที่พญากือนาอาราธนาพระสุมนเถระจากสุโขทัย มาประดิษฐานศาสนาพุทธแบบลังกาวงศ์ในเมืองเชียงใหม่ โดยมีวัดสวนดอกเป็นศูนย์กลาง (จึงปรากฏหลักฐานเป็นเจดีย์บริวารองค์เดิมของวัดสวนดอก ที่เป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) นับแต่นั้นรูปแบบทางศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมของสุโขทัยเนื่องในศาสนาก็ได้แพร่หลายสู่ล้านนา จากการพบเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ขนาดใหญ่ในพื้นที่สบแจ่มนี้ จึงกล่าวได้ว่า แหล่งโบราณคดีสบแจ่มนี้เป็นชุมชนที่มีความสำคัญและเป็นมีขนาดใหญ่ที่สุดที่รับอิทธิพลวัฒนธรรมสุโขทัยในพื้นที่ล้านนา ในช่วงต้นพุทธศตวรรษที่ ๒๐

เรียบเรียงโดย นายสายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ

https://www.finearts.go.th/fad7/view/26133-เจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์วัดพระเจ้าดำ-ร่องรอยสุโขทัยในล้านนา

ถ่ายภาพโดย OPS & MaCraft Studio

วัดบ้านแปะ (ราชวิสุทธาราม)

พาชม วัดบ้านแปะ (ราชวิสุทธาราม)

วัดเก่าแก่ ยุคพระนางวิสุทธเทวี

กษัตริย์ลำดับที่ ๑๘

องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์มังราย

ตั้งอยู่ที่ ม.4 บ้านแปะ ต.บ้านแปะ

อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

ตามประวัติวัด แจ้งว่า สร้างเมื่อ พุทธศักราช ๒๑๑๐

มีชื่อเรียกแต่เดิมอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดราชวิสุทธาราม”

ผู้สถาปนาวัดราชวิสุทธาราม (วัดบ้านแปะ) ก็คือ พระนางวิสุทธเทวี

เป็นกษัตริย์ลำดับที่ ๑๘ องค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์มังราย

ทรงโปรดเกล้าฯ สร้างพลับพลาใกล้กับเวียงหิน ที่ประทับ

เสด็จไปและกลับกรุงหงสาวดี และได้สร้างวัดประจำหมู่บ้านนี้ชื่อว่า

วัดราชวิสุทธาราม เมื่อปี พ.ศ. ๒๑๑๐ ซึ่งมีบันทึกในใบลานอักษรแบบสุโขทัย เมื่อปีเถาะ นพศก จุลศักราช ๙๒๙ (ตรงกับ พ.ศ. ๒๑๑๐) เดือน ๙ เหนือขึ้น ๑๕ ค่ำ ว่าได้โปรดเกล้าฯ ให้ทำตราหลวงหลาบเงินนี้ไว้เพื่อคุ้มครองชาวบ้านแปะ อมขูด ฮากฮาน กองกูน ป่ารวก ทั้งคนลัวะ คนไทย ให้เขาเหล่านั้นเป็นข้าทาสวัด และได้ทรงหลั่งน้ำพระราชทานไว้ให้เฝ้าดูแลวัดราชวิสุทธารามให้เจริญมั่นคงสืบต่อไป พร้อมกับทรงสร้างหน้าจีตราชลัญจกร และสังฆราชลัญจกร เพื่อพระราชทานแก่ชาววัดราชวิสุทธาราม (บ้านแปะ) เพื่อไม่ให้เดือดร้อนและเป็นข้าทาสวัดได้อย่างสมบูรณ์ วัดราชวิสุทธาราม (บ้านแปะ) แห่งนี้ในอดีตมีความเจริญรุ่งเรือง และได้รับการพัฒนาทะนุบำรุงสืบต่อๆ กันมารุ่นต่อรุ่นวัดบ้านแปะในปัจจุบัน ได้รับการแต่งตั้งเป็นวัดเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๐ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๓ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๑๔ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร

ข้อมูลจาก https://pukmudmuangthai.com/detail/32229

ถ่ายภาพโดย OPS & MaCraft Studio

ขอบพระคุณ พระครู สุจิตปัญญารัตน์

และ พระปลัด จักรี ปัญฺญาสิริ

ดอยขุนแปะ

ดอยขุนแปะ ผ่านแผ่นฟิล์ม

ช่วงนี้ดอยขุนแปะเริ่มเปิดให้นักท่องเที่ยว

ได้เข้าไปสัมผัสบรรยากาศ และวิถีชีวิต

ทุ่งดอกไฮเดรนเยีย รวมถึงกาแฟ

และพืชเมืองหนาว รวมถึงโฮมสเตย์แบบธรรมชาติ

ดอยขุนแปะ อยู่ในเขตอำเภอจอมทอง

โดยขับรถจากตัวอำเภอจอมทอง ถนนสาย 108

มาทางทิศใต้ ประมาณ 25 กม.

แล้วเลี้ยวขวาเข้าแยกบ้านแปะ

แล้วขับตรงขึ้นดอย ประมาณ 27 กม.

เป็นถนนลาดยางสลับคอนกรีด

เมื่อถึงยอดดอยแล้ว

ให้ติดต่อผู้นำเที่ยวท้องถิ่น

ไม่แนะนำให้ขับเอง เพราะอันตราย

และถนนในหมู่บ้านค่อนข้างแคบ

ท่านใดสนใจท่องเที่ยวแนะนำติดต่อที่กลุ่ม

ขุนแปะ ที่เที่ยว ที่พัก รถบริการนำเที่ยว

ภาพถ่ายบรรยากาศด้วยกล้องฟิล์ม

ทั้งฟิล์ม 35mm , 120mm

Film : Ektar100 , CN200 , Portra160

Take a Pic x DEV : OPS & MaCraft Studio

วัดไชยวัฒนาราม

วัดไชยวัฒนาราม

Masterpieces in Detail

วัดไชยวัฒนาราม

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

” วัดไชยวัฒนาราม “

พระอารมหลวงคู่เมืองอยุธยา

วัดไชยวัฒนาราม เป็นวัดเก่าแก่สมัยอยุธยาตอนปลาย

ตั้งอยู่ที่ ตำบลบ้านป้อม อำเภอเมืองจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ทางฝั่งตะวันตกนอกเกาะเมือง

วัดไชยวัฒนาราม ได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2173 โดยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พระองค์โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นบนที่ที่เป็นบ้านเดิมของพระองค์เพื่ออุทิศพระราชกุศลถวายพระราชมารดา แต่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะเหนือนครละแวกโดยจำลองแบบมาจากปราสาทนครวัด

วัดไชยวัฒนารามเป็นวัดหลวงที่บำเพ็ญพระราชกุศลของพระมหากษัตริย์สืบต่อมาหลังจากนั้นทุกพระองค์ จึงได้รับการปฏิสังขรณ์สืบต่อมาทุกรัชสมัย เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงศพพระบรมวงศานุวงศ์เกือบทุกพระองค์ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศสิ้นพระชนม์ก็ได้ถวายพระเพลิงที่วัดนี้

สิ่งที่น่าสนใจในวัดไชยวัฒนาราม

ปรางค์ประธาน

ตั้งอยู่บริเวณตรงกลางของพื้นที่ ฐานประทักษิณ ซึ่งฐานประทักษิณได้ยกสูงขึ้นมา จากพื้น มีลักษณะเป็นปรางค์ จัตุรมุข ในส่วน ของมุขด้านตะวันออก จะเจาะมุขทะลุเข้าสู่เรือนธาตุ ซึ่งภายในจะประดิษฐาน พระพุทธรูปนั่ง (ปัจจุบันไม่พบแล้ว) ยอดขององค์ปรางค์ ทำเป็นรัดประคดซ้อนกัน 7 ชั้นแต่ละชั้น เป็นลวดลาย ใบขนุน กลีบขนุน ส่วนบนสุดเป็นทรงดอกบัวตูม ปรางค์แบบนี้มีลักษณะเหมือน ปรางค์ในสมัย อยุธยาตอนต้น ซึ่ง วัดไชยวัฒนารามนั้น สร้างในสมัยอยุธยาตอนกลาง จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นการนำเอาพระปรางค์ที่นิยมสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้นมาก่อสร้างอีกครั้ง

ปรางค์บริวาร

คือปรางค์องค์เล็กลงมาที่อยู่รายล้อม ปรางค์ประธาน มีทั้งหมด 4 องค์ลักษณะจะเพรียวกว่า ปรางค์ ประธานเมรุ คืออาคารทรงยอด แหลมที่อยู่รายรอบระเบียงคด ทั้ง 8 ทิศ ภายในคูหาจะประดิษฐานพระพุทธรูปทรงเครื่อง ปางมารวิชัย เอาไว้ที่เมรุทิศ เมรุละ 1 องค์ เมรุมุม เมรุละ 2องค์ภายในคูหา มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง หลงเหลือร่องรอยอยู่เล็กน้อย

ระเบียงคด

คือส่วนที่เชื่อมต่อ ระหว่างเมรุแต่ละเมรุเอาไว้ โดยรอบฐานประทักษิณซึ่งแต่เดิมจะมีหลังคารอบๆ ที่บริเวณระเบียงคดนี้ จะมีพระพุทธรูป ปางมารวิชัยประดิษฐานอยู่ รวมทั้งหมด 120 องค์ แกนในทำจากไม้ พอกปูนทีละชั้นจนได้สัดส่วนส่วนนิ้ว ใช้โลหะสำริด ดัดขึ้นรูป ปัจจุบันเหลือที่ยังมีพระเศียร อยู่ 2 องค์

พระอุโบสถ

พระอุโบสถ สร้างอยู่ทางด้านหน้ากำแพงเมรุทิศเมรุราย นอกระเบียงคด ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน ข้างๆมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง มีกำแพงล้อมรอบโบราณสถานสำคัญแหล่านี้ถึง 3 ชั้น และ มีปรางค์เจดีย์ขนาดย่อมอีกจำนวนหนึ่งซึ่งสร้างเพิ่มในภายหลัง

ที่อยู่ : 8GVR+5PX ตำบล บ้านป้อม อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000

รูปแบบสถาปัตยกรรม: อยุธยา

เปิด : พ.ศ. 2173

ผู้สร้าง : สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

ที่ตั้ง : ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

การเปิดให้เข้าชม : ทุกวัน 08.00-18.30 น

ข้อมูลจาก ; https://www.museumthailand.com/th/3173/storytelling/วัดไชยวัฒนาราม/

https://th.wikipedia.org/wiki/วัดไชยวัฒนาราม

ตัดอักษรพลาสวู๊ด ด้วยเครื่องCNC

ตัดอักษรพลาสวู๊ด ด้วยเครื่องCNC

งานตัดอักษรพลาสวู๊ด ด้วยเครื่องCNC

โดย มาคราฟท์ สตูดิโอ

รับให้คำปรึกษา ออกแบบ และผลิตชิ้นงาน

สามารถเลือกวัสดุที่เป็นไม้ หรือพลาสวู๊ด

สามารถผลิตตามขนาดอื่นๆที่ท่านต้องการได้นะครับ

เข้ามาคุยและสอบถามได้ครับ

ยินดีให้คำปรึกษางานทำป้ายทุกประเภทครับ

☎ สนใจติดต่อในทาง ib

Email : opsmc2021@gmail.com

แอดไลน์มาที่ @macraft

หรือโทร : 0918162866 , 0918542271

ทุ่งดอกบัวตองดอยแม่อูคอ

ทุ่งดอกบัวตองดอยแม่อูคอ

อำเภอขุนยวม แม่ฮ่องสอน

ดอกบัวตองที่นี่เมื่อบานพร้อม ๆ กัน

ในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม

จะเหลืองอร่ามปกคลุมทั่วทั้งภูเขา

มีความสวยงามมาก

ทุ่งดอกบัวตองดอยแม่อูคอ ถือเป็นทุ่งดอกบัวตองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งมีพื้นที่กว่า 500 ไร่ ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของโครงการพัฒนาป่าไม้ที่สูง หน่วยที่ 5 กองอนุรักษ์ต้นน้ำ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดแม่ฮ่องสอน มีลักษณะเป็นทิวเขาเขียวสูงสลับกับทุ่งดอกบัวตองทั่วพื้นเขา โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม ของทุกปี เมื่อลมหนาวเข้ามาเยือนเมืองสามหมอก ดอกบัวตองนับแสนนับล้านที่อยู่ที่นี่ก็จะบานสะพรั่งพร้อม ๆ กัน ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศให้เข้ามาเยือน และชมความงดงามของท้องทุ่งสีเหลืองอร่าม ที่ดูราวกับว่าทั่วทั้งภูเขาถูกปูด้วยพรมสีเหลืองผืนยักษ์ ถือเป็นหนึ่งในอะเมซิ่งไทยแลนด์ที่ครั้งหนึ่งในชีวิตควรหาโอกาสไปชมให้ได้ ทั้งนี้ จุดที่เป็นที่นิยมในการชมทัศนียภาพอันสวยงามของทุ่งดอกบัวตองก็คือ บนดอยแม่อูคอ เนื่องจากข้างบนนี้สามารถมองเห็นทุ่งดอกบัวตองได้แบบ 360 องศา

ที่ตั้ง : หมู่ที่ 6 ตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ห่างจากที่ทำการอำเภอขุนยวม 25 กิโลเมตร

สิ่งอำนวยความสะดวก : มีบริการให้เช่าเต็นท์ค้างแรมบนดอย

ซึ่งตั้งเต็นท์ได้ประมาณ 100 หลัง

ติดต่อได้โดยตรงบริเวณหน่วยทำการบนทุ่งบัวตอง หรืออำเภอขุนยวม โทรศัพท์ 0 5369 1108

ข้อมูล ; https://thai.tourismthailand.org/Attraction/ทุ่งดอกบัวตองดอยแม่อูคอ

รับทำสติ๊กเกอร์เจ

สติ๊กเกอร์ เจ

รับทำสติ๊กเกอร์เจด่วน ราคาถูก จำนวนมาก

รับทำสติ๊กเกอร์เจ ทุกขนาด ทั้งขนาด 2×2 2.5×2.5 3×3 3.5×3.5 4×4 หรือขนาดอื่นๆ

รับทำสติ๊กเกอร์เจ รูป สามเหลี่ยม วงกลม สีเหลี่ยม วงรี ตามความต้องการของลูกค้า

รับออกแบบสติ๊กเกอร์เจ

ติดต่อทำสติ๊กเกอร์เจ

เช็คราคาสติ๊กเกอร์

รับทำสติ๊กเกอร์เจ

รับทำสติ๊กเกอร์เจ

รับทำสติ๊กเกอร์เจ รับทำสติ๊กเกอร์ฉลากอาหารเจ รับทำสติ๊กเกอร์โลโก้เจ รับทำสติ๊กเกอร์ตรุษจีน
สติ๊กเกอร์ ขนาด 2×2 cm. ขนาด 2.5×2.5 cm. ขนาด 3×3 cm.

ติดต่อสั่งสติ๊กเกอร์เจ

ราคาสติ๊กเกอร์ขนาดอื่นๆ